ประวัติสโมสรฟุตบอล manchester city

sanamball.net

manchester city (แมนซิตี้) เจ้าของฉายา “เรือใบสีฟ้า”

ถือเป็น 1 ใน 6 สโมสรฟุตบอลที่ครองความยิ่งใหญ่บนเกาะอังกฤษในยุคปัจจุบัน และยังเป็นสโมสรที่อุดมไปด้วยบรรดานักเตะฝีเท้าระดับโลกล้นทีม จนแทบจะการันตีการคว้าแชมป์ไม่รายการใดก็รายการหนึ่งแทบทุกปี ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ manchester city ประสบความสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้ คือ การเข้ามาเทคโอเวอร์สโมสรด้วยเม็ดเงินกว่า 200 ล้านปอนด์ของ “ชีค มานซูร์” (Mansour bin Zayed Al Nahyan) มหาเศรษฐีจากสหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ ในปี 2008 ทำให้ manchester city กลายเป็นยักษ์ใหญ่ตัวใหม่แห่งเกาะอังกฤษและเวทียุโรป ก่อนจะเดินหน้าคว้าความสำเร็จอย่างเป็นกอบเป็นกำนับแต่นั้น  อย่างไรก็ตาม กว่าที่ manchester city จะตกถังข้าวสารจนกลายร่างเป็นยอดทีมอันดับต้น ๆ ของโลกอย่างทุกวันนี้ สโมสรแห่งนี้ต้องเผชิญกับคำสบประมาทจากความล้มเหลว สวนทางกับความสำเร็จในยุครุ่งเรืองของคู่แข่งร่วมเมืองอย่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด มาตลอดนับตั้งแต่ก่อตั้งสโมสร ดังนั้น วันนี้เราจะมาเปิดหน้าประวัติศาสตร์โลกฟุตบอลเพื่อเรียนรู้ถึงการเดินทางที่ยาวนานนับร้อยปีของสโมสร manchester city 

manchester city กับประวัติตั้งแต่ยุคก่อตั้งสโมสร 

manchester city  คือ สโมสรฟุตบอลอาชีพของเมืองแมนเชสเตอร์ (Manchester) ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อปี 1880 โดยสมาชิกของโบสถ์คริสตจักร เซนต์ มาร์ค (St. Mark’s Church) เพื่อจุดประสงค์ด้านมนุษยธรรม เนื่องจากเมืองแมนเชสเตอร์ในช่วงนั้นกำลังประสบปัญหาแก๊งอันธพาลในท้องถิ่นเที่ยวอาละวาดสร้างความเดือดร้อนให้ชาวเมือง ทางโบสถ์จัดตั้งสโมสรฟุตบอลเพื่อให้เด็กหนุ่มหรือวัยรุ่นในท้องถิ่นมีกิจกรรมที่สร้างสรรค์ โดยใช้ชื่อทีมว่า “กอร์ตัน ตะวันตก” (West Gorton) แต่เรียกกันทั่วไปว่า “เซนต์ มาร์ค” (St. Mark’s) สวมชุดแข่งสีดำมีรูปไม้กางเขนสีขาว กางเกงสีขาว ก่อนจะมาเปลี่ยนเป็นสีฟ้าในปี 1892 ส่วนตราสโมสรใช้เป็นรูปไม้กางเขนสีขาวในวงกลมสีดำ ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้รูป “เรือใบ” แบบในปัจจุบันเมื่อปี 1930  ทั้งนี้ แมนซิตี้ เข้าร่วมการแข่งขันลีกฟุตบอลอาชีพในดิวิชั่น 2 เมื่อฤดูกาล 1880-1881 ก่อนที่ในปี 1887 สโมสร กอร์ตัน จะเปลี่ยนชื่อเป็น “อาร์ดวิค” (Ardwick Association Football Club) แต่ไม่นานก็เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “แมนเชสเตอร์ ซิตี้” ในปี 1894 หลังจากนั้นอีก 4 ปีจึงคว้าแชมป์ลีกดิวิชั่น 2 ได้ในซีซัน 1898-1899 เลื่อนชั้นขึ้นสู่ลีกสูงสุดครั้งแรกของสโมสร แต่ก็ประคองตัวบนลีกสูงสุดได้แค่ 2 ฤดูกาลก็ตกชั้นด้วยการจบอันดับบ๊วยของตารางในซีซัน 1901-1902 ก่อนจะกลับขึ้นมาใหม่ในซีซันถัดมาด้วยการคว้าแชมป์ลีกดิวิชั่นสองได้เป็นสมัยที่ 2 ของสโมสร หลังจากนั้นในซีซัน 1903-1904 manchester city ก็คว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ ได้เป็นครั้งแรกของสโมสรด้วยการเอาชนะ โบลตัน วันเดอร์เรอร์ส (Bolton Wanderers) ในรอบชิงชนะเลิศ 1-0  

blackstonecomputing.com

ทีม แมนซิตี้ ยุคก่อตั้งปี 1880 

manchester city กับยุคตกต่ำกว่า 30 ปีจากข้อหา “ล้มบอล” (1905-1937)

manchester city เผชิญวิกฤติครั้งใหญ่ในซีซัน 1904-1905 แม้ว่าในฤดูกาลดังกล่าว สโมสรจะทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจด้วยการจบฤดูกาลที่อันดับ 3 ของตารางคะแนน ตามหลังอันดับ 1 อย่าง นิวคาสเซิล (Newcastle) เพียงแค่ 2 คะแนน พลาดการคว้าแชมป์ลีกสูงสุดครั้งแรกของสโมสรไปอย่างน่าเสียดาย แต่ทว่า “บิลลี เมเรดิท” (Billy Meredith) ดาวยิงตัวเก่งของทีม แมนซิตี้ กลับไปมีข่าวพัวพันว่าแอบยัดเงิน 10 ปอนด์ให้นักเตะคู่แข่ง “ล้มบอล” ในเกมลีกนัดที่ทีมเรือใบสีฟ้าต้องบุกไปเยือน แอสตันวิลล่า (Aston Villa) ส่งผลให้ บิลลี เมเรดิท ถูกสมาคมฟุตบอลอังกฤษปรับและสั่งห้ามลงเล่นเป็นเวลา 1 ปี ขณะที่ต้นสังกัดอย่าง manchester city ก็ตัดสินไม่ช่วยเหลือเรื่องคดีความ จน เมเรดิท โกรธจนต้องออกมาแฉว่า manchester city เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการทุจริตครั้งนี้และยังรวมถึงหลายครั้งก่อนหน้านี้ด้วย ร้อนไปถึงสมาคมฟุตบอลต้องเข้ามาตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินของสโมสร ก่อนจะสั่งแบนผู้จัดการทีม แมนซิตี้ ในขณะนั้นอย่าง “ทอม มาลีย์” (Tom Maley) ตลอดชีวิตและปรับเงินอีก 250 ปอนด์ รวมถึงนักเตะในทีมอีก 17 คนถูกปรับและแบน ส่งผลให้ manchester city มีปัญหาทางด้านการเงินอย่างหนักจนถูกบีบให้ขายนักเตะคนสำคัญในชุดคว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ ปี 1904 ออกไปแทบจะยกทีม  และนับตั้งแต่นั้นจนถึงช่วงยุค 1930  manchester city ก็ไม่เคยคว้าแชมป์ลีกสูงสุดได้อีกเลย โดยส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการขึ้น ๆ ลง ๆ ลีกล่างกับลีกสูงสุด เริ่มตั้งแต่ตกชั้นด้วยอันดับรองบ๊วยในซีซัน 1908-1909 แม้ว่าจะใช้เวลาเพียงแค่ฤดูกาลเดียวกลับขึ้นมาด้วยการคว้าแชมป์ลีกดิวิชั่นสองเป็นสมัยที่ 3 ในซีซัน 1909-1910 แต่ก็ทำได้แค่ประคองตัวอยู่รอดไปปี ๆ หนึ่ง ก่อนจะตกชั้นอีกครั้งในซีซัน 1925-1926 ก่อนจะกลับขึ้นมาลีกสูงสุดในฐานะแชมป์ลีกดิวิชั่นสอง สมัยที่ 4 ในซีซัน 1927-1928  จนกระทั่งในปี 1933-1934 manchester city ก็สามารถคว้าแชมป์ใหญ่รายการแรกในรอบกว่า 30 ปีได้ด้วยการเอาชนะ พอร์ตสมัท (Portsmouth) ในรอบชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพ 1-0 ก่อนจะกลับมาคว้าแชมป์ลีกสูงสุดได้อีกครั้งในซีซัน 1936-1937  

ทีม manchester city ชุดคว้าแชมป์ลีกดิวิชั่นหนึ่ง ปี 1937

manchester city กับแชมป์ลีกสูงสุดครั้งสุดท้ายในศตวรรษที่ 20 (1940-2000) 

หลังจากคว้าแชมป์ลีกสูงสุดในรอบ 30 ปี เมื่อซีซัน 1936-1937  manchester city ก็ใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงปี 1937-1967 ไปกับการตกชั้น-เลื่อนชั้น สลับกับการคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยภายในประเทศได้ประปราย เริ่มตั้งแต่ตกชั้นด้วยตำแหน่งรองบ๊วยในซีซัน 1937-1938 ทั้ง ๆ ที่ซีซันก่อนเพิ่งคว้าแชมป์ลีกมาหมาด ๆ ก่อนจะกลับขึ้นมาอีกครั้งในฐานะแชมป์ลีกดิวิชั่นสองสมัยที่ 5 ในซีซัน 1946-1947 แต่อยู่ได้แค่ 2 ฤดูกาลก็กระเด็นตกชั้นอีกครั้งในซีซัน 1949-1950 และกลับขึ้นมาอีกในซีซัน 1950-1951  แม้ว่า ในซีซัน 1955-1956 จะสามารถคว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ สมัยที่ 3 ได้ แต่ก็ไม่วายตกชั้นอีกครั้งในซีซัน 1962-1963 โดยจมอยู่ลีกล่างอีกถึง 3 ปีก่อนที่ โจ เมอร์เซอร์ (Joe Mercer) จะเข้ามาเป็นผู้จัดการทีมในปี 1965 และพาทีมเลื่อนขึ้นลีกสูงสุดอีกครั้งด้วยการคว้าแชมป์ลีกดิวิชั่นสองสมัยที่ 6 ในซีซัน 1965-1966 ก่อนจะพาทีม แมนซิตี้ คว้าแชมป์ลีกสูงสุดได้อีกครั้งเป็นสมัยที่ 3 หลังจากรอมากว่า 30 ปีในซีซัน 1967-1968 และถือเป็นแชมป์ลีกสูงสุดครั้งสุดท้ายของ manchester city ในศตวรรษที่ 20 อีกด้วย เพราะกว่าที่เรือใบสีฟ้าจะกลับมาทวงบัลลังก์ลีกสูงสุดได้อีกครั้งก็ต้องรอถึงปี 2012 เลยทีเดียว  อย่างไรก็ตาม manchester city ในยุคของ โจ เมอร์เซอร์ ช่วงปี 1968-1970 ถือเป็นยุคที่ แมนซิตี้ ประสบความสำเร็จสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรด้วยการมีถ้วยแชมป์ติดมือทุกปี เริ่มตั้งแต่แชมป์ลีกดิวิชั่นหนึ่งในซีซัน 1967-1968 ตามด้วยแชมป์ เอฟเอ คัพ สมัยที่ 4 ใน ซีซัน 1968-1969 ปิดท้ายด้วยการคว้า “ดับเบิ้ลแชมป์” ในซีซัน 1969-1970 ได้แก่ แชมป์ ลีกคัพ สมัยแรกของสโมสร และแชมป์ ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ  แต่ทว่าหลังจากนั้นเป็นต้นมา manchester city ก็แทบจะร้างความสำเร็จจนถึงยุค 2000 โดยผลงานที่ดีที่สุด คือ การคว้าแชมป์ ลีกคัพ สมัยที่ 2 ในซีซัน 1975-1976 และจบฤดูกาลที่อันดับ 2 ในซีซัน 1976-1977 โดยมีคะแนนห่างจากอันดับ 1 อย่าง ลิเวอร์พูล เพียงคะแนนเดียว พลาดการคว้าแชมป์ลีกสูงสุดไปอย่างน่าเสียดาย แต่หลังจากนั้นก็เข้าสู่ยุคตกต่ำแบบสุดขีด สโมสรตกชั้นอีกครั้งในซีซัน 1982-1983 ก่อนจะเลื่อนชั้นกลับขึ้นมาในซีซัน 1984-1985 แต่ก็ไม่วายตกชั้นอีกในซีซัน 1986-1987 และกลับขึ้นมาอีกในซีซัน 1988-1989 จนกระทั่งเข้าสู่ยุค “พรีเมียร์ลีก” manchester city ตกชั้นอีกครั้งในซีซัน 1995-1996 ที่หนักไปกว่านั้นคือในซีซัน 1997-1998 แมนซิตี้ ตกชั้นจากลีกดิวิชั่นสองไปสู่ลีกดิวิชั่นสามถือเป็นจุดตกต่ำสุดในประวัติศาสตร์สโมสร ก่อนจะกลับขึ้นดิวิชั่นสองในซีซัน 1999-2000 สุดท้ายจึงกลับสู่ พรีเมียร์ลีก อีกครั้งด้วยการคว้าแชมป์ลีกดิวิชั่นสองเป็นสมัยที่ 7 ในซีซัน 2001-2002 

blackstonecomputing.com

manchester city กับยุครุ่งเรืองภายใต้การทำทีมของ “ชีค มานซูร์”

แม้ว่า manchester city จะไม่เคยตกชั้นอีกเลยหลังจากกลับสู่ลีกสูงสุดในซีซัน 2001-2002 แต่ทีมเรือใบสีฟ้าก็เผชิญกับยุคไร้ความสำเร็จถึง 10 ปี จนกระทั่ง “ชีค มานซูร์” มหาเศรษฐีจากสหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ เข้ามาเป็นเจ้าของสโมสรต่อจาก “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยในปี 2008  manchester city ก็กลายเป็นทีมที่พุ่งทะยานสู่จุดสูงสุดแบบต่อเนื่อง โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมาที่ แมนซิตี้ แทบจะไม่เคยจบฤดูกาลแบบมือเปล่าเลย เริ่มตั้งแต่ยุคผู้จัดการทีมอย่าง “โรแบร์โต มันชีนี” (Roberto Mancini) ที่เป็นเหมือนผู้เปิดศักราชแห่งความยิ่งใหญ่เหนือเกาะอังกฤษของ แมนซิตี้ ด้วยการคว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ สมัยที่ 5 ในซีซัน 2010-2011 ต่อด้วยคว้าแชมป์ พรีเมียร์ลีก ในซีซัน 2011-2012 ซึ่งถือเป็นแชมป์ลีกสูดสุดครั้งแรกในรอบ 43 ปี ต่อมาในยุคของ “มานูเอล เปเลกรินิ” (Manuel Pellegrini) ที่เข้ามาคุมทีมตั้งแต่ปี 2013-2016 ก็พาทีมคว้า “ดับเบิ้ลแชมป์” ในซีซัน 2013-2014 ได้แก่ แชมป์ พรีเมียร์ลีก และ แชมป์ ลีกคัพ สมัยที่ 3 ก่อนจะกลับมาแชมป์ ลีกคัพ สมัยที่ 4 ในซีซัน 2015-2016 จนมาถึงยุคผู้จัดการทีมคนปัจจุบันอย่าง “เป๊ป กวาร์ดิโอล่า” (Pep Guardiola) ที่พา manchester city ครองความยิ่งใหญ่แบบคับเกาะอังกฤษด้วยการคว้าแชมป์ พรีเมียร์ลีก ได้ถึง 2 ฤดูกาลติดในซีซัน 2017-2018 และ 2018-2019 เช่นเดียวกับคว้าแชมป์ ลีกคัพ ได้ถึง 3 ฤดูกาลติดต่อกันในซีซัน 2017-2018, 2018-2019 และ 2019-2020  ส่งผลให้ manchester city ถูกยกให้เป็น 1 ใน 6 สโมสรยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ ร่วมกับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, ลิเวอร์พูล, อาร์เซนอล, เชลซี และ ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ 

manchester city กับผลงานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

manchester city ถือเป็นสโมสรที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 140 ปี แต่ถ้วยแชมป์เกือบครึ่งหนึ่งในตู้โชว์เกิดในยุคหลัง “ชีค มานซูร์” เข้ามานั่งเก้าอี้นายใหญ่ของสโมสร โดยเฉพาะหลังปี 2010 เป็นต้นมา ที่ทีม แมนซิตี้ ทำผลงานได้โดดเด่นด้วยการคว้าแชมป์ พรีเมียร์ลีก ไปถึง 4 สมัย แซงหน้าคู่ปรับร่วมเมืองอย่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่คว้าแชมป์ พรีเมียร์ลีก ไปได้เพียงแค่ 2 สมัยเท่านั้น  ทั้งนี้หากนับผลงานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน manchester city ฝากผลงานไว้ในเวทีฟุตบอลอังกฤษได้แก่

แชมป์ลีกสูงสุด (ดิวิชั่นหนึ่ง/พรีเมียร์ลีก) 6 สมัย: 1936–1937, 1967–1968, 2011–2012, 2013–2014, 2017–2018, 2018–2019

แชมป์ลีกดิวิชั่นสอง 7 สมัย: 1898–1899, 1902–1903, 1909–1910, 1927–1928, 1946–1947, 1965–1966, 2001–2002

แชมป์ เอฟเอ คัพ 6 สมัย: 1903–1904, 1933–1934, 1955–1956, 1968–1969, 2010–2011, 2018–2019

แชมป์ ลีกคัพ 7 สมัย: 1969–1970, 1975–1976, 2013–2014, 2015–2016, 2017–2018, 2018–2019, 2019–2020

แชมป์ คอมมูนิตี้ ชิลด์ 6 สมัย: 1937, 1968, 1972, 2012, 2018, 2019

แชมป์ ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 1 สมัย: 1969-1970 

blackstonecomputing.com

 manchester city กับนักเตะระดับตำนานของสโมสร 

manchester city ก่อนยุค 2000 ถือเป็นช่วงที่สโมสรไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากมายนักหากเทียบกับยักษ์ใหญ่ทีมอื่น ๆ ในยุคนั้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ถือเป็นทีมที่มีนักเตะระดับโลกค้าแข้งอยู่ด้วยมากมายนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น

อีริก บรู๊ค” (Eric Brook) ตำนานดาวเตะรุ่นบุกเบิกของ manchester city ค้าแข้งอยู่กับสโมสรตั้งแต่ปี 1928-1939 ลงสนามไปทั้งสิ้น 499 นัด ทำได้ 179 ประตู สร้างสถิติเป็นนักเตะที่ทำประตูให้สโมสรมากที่สุดยาวนานถึง 80 ปี ก่อนจะถูก “เซร์ฆิโอ อาเกวโร” (Sergio Agüero) ทำลายสถิติได้ในปี 2019  คว้าแชมป์ลีกสูงสุดได้ 1 สมัย และ เอฟเอ คัพ 1 สมัย 

“โทนี่ บุ๊ค” (Tony Book) ตำนานกองหลังผู้ถูกยกให้เป็นกัปตันทีมตลอดกาลของทีม แมนซิตี้ ค้าแข้งกับทีมตั้งแต่ปี 1966-1974 ลงสนามไปทั้งสิ้น 244 นัด ทำได้ 4 ประตู คว้าแชมป์ลีกสูงสุด 1 สมัย, แชมป์ เอฟเอ คัพ 1 สมัย, แชมป์ ลีกคัพ 1 สมัย และแชมป์ ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 1 สมัย

อลัน โอ๊คส์” (Alan Oakes) มิดฟิลด์จอมแกร่งค้าแข้งอยู่กับ manchester city ในช่วงปี 1959-1976 ลงสนามรับใช้สโมสรไปทั้งสิ้นถึง 680 นัด ทำได้ 35 ประตู และยังถือเป็นนักเตะที่ทำสถิติลงสนามให้ แมนซิตี้ มากที่สุดจนถึงทุกวันนี้ ช่วยสโมสรคว้าแชมป์ลีกสูงสุด 1 สมัย, ลีกดิวิชั่นสอง 1 สมัย, เอฟเอ คัพ 1 สมัย, ลีกคัพ 1 สมัย และ ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 1 สมัย

“เซร์ฆิโอ อาเกวโร” (Sergio Agüero) กองหน้าจอมถล่มประตูในยุคปัจจุบันของ manchester city ย้ายมาค้าแข้งกับสโมสรตั้งแต่ปี 2011 ลงเล่นไปแล้วกว่า 370 นัด ทำไปถึง 254 ประตูจากทุกรายการ สร้างสถิติเป็นนักเตะที่ยิงประตูให้ แมนซิตี้ มากที่สุดตลอดกาล ช่วยสโมสรคว้าแชมป์ลีกสูงสุด 4 สมัย, เอฟเอ คัพ 1 สมัย และ ลีกคัพ 5 สมัย

H3 manchester city กับมูลค่าทางการตลาด

manchester city ถูกจัดให้เป็นสโมสรฟุตบอลที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกเป็นอันดับที่ 2 ด้วยมูลค่ารวมราว 1 พันล้านยูโร แซงหน้าสโมสรคู่ปรับร่วมเมืองอย่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่หล่นลงไปอยู่ในอันดับที่ 7 ด้วยมูลค่าราว 799 ล้านยูโร ปัจจัยสำคัญก็มาจาก “ชีค มานซูร์” (Mansour bin Zayed Al Nahyan) มหาเศรษฐีจากสหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ ที่มีทรัพย์สินราว 20,000 ล้านดอนลาร์สหรัฐฯ เข้ามาซื้อ แมนซิตี้ ตั้งแต่ปี 2008 และทุ่มเม็ดเงินมหาศาลเพื่อพัฒนาสโมสรจนทำให้ผลงานของโดยรวมของทีมพุ่งทะยานขึ้นอย่างรวดเร็วจนคว้าแชมป์ พรีเมียร์ลีก ได้ถึง 4 สมัย รวมถึงยังสามารถคว้าตั๋วไปลุย ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก ได้แทบทุกปี ทำให้มูลค่าทางการตลาดของ manchester city เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ยังไม่รวมถึงนักเตะระดับโลกในสังกัดของสโมสรที่มีมูลค่ารวมหลายร้อยล้านยูโร ไม่ว่าจะเป็น “เควิน เดอ บรอยน์” “(Kevin de Bruyne) มิดฟิลด์ตัวรุกที่มีมูลค่าราว 120 ล้านยูโร หรือ “แบร์นาร์โด้ ซิลวา” (Bernardo Silva) ที่มีมูลค่าถึง 80 ล้านยูโร 

แฟนบอล “พรีเมียร์ลีก” อังกฤษพันธุ์แท้ที่ไม่อยากพลาดเรื่องสำคัญเกี่ยวกับฟุตบอลอังกฤษ ห้ามพลาดติดตามการรวบรวมประวัติและผลงานของสโมสรฟุตบอลเจ้าของฉายาสุดคลาสสิค “เรือใบสีฟ้า” manchester city ตั้งแต่ยุคก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน โลดแล่นสร้างประวัติศาสตร์ในโลกลูกหนังมากว่า 140 ปี จนเต็มไปด้วยเรื่องราวอันน่าประทับใจของชัยชนะสุดยิ่งใหญ่ เช่นเดียวกับความพ่ายแพ้ที่แสนเจ็บปวด จนกระทั่ง แมนซิตี้ กลายมาเป็นหนึ่งในสโมสรฟุตบอลยักษ์ใหญ่ระดับแถวหน้าของเกาะอังกฤษและของโลกอย่างทุกวันนี้ รับรองว่าคุณจะรู้เรื่องราวในแง่มุมต่าง ๆ ของสโมสรฟุตบอลที่คุณหลงรักไม่แพ้แฟนบอลต่างประเทศอย่างแน่นอน